กล่มเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
- ผู้ที่มีอายุ 50 ปี ขึ้นไปทั้งในชายและหญิง เป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่มากที่สุด เพราะมะเร็งลำไส้ใหญ่จะเกิดติ่งเนื้องอกที่ผนังลำไส้ใหญ่ ซึ่งติ่งเนื้อที่เกิดขึ้นนี้ถือเป็นสัญญาณบอกเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ขั้นเริ่มต้น
- ผู้ที่มีประวัติหรือประวัติครอบครัวมีมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยมะเร็งลำไส้ใหญ่บางชนิดสามารถถ่ายทอดได้จากทางพันธุกรรม รวมถึงผู้ป่วยโรคลำไส้ใหญ่อักเสบ หรือ โรคโครน ควรรีบตรวจคัดกรองมะเร็งเบื้องต้น
- ผู้ที่บุคลที่มีประวัติครอบครัวใกล้ชิดเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ แต่ 80% ของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ใหม่ ไม่ใช่ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง
การสูบุหรี่และดื่มสุราจัด อาจมีผลต่อการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่
การกำหนดระยะของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
Stage 0 (ที่เรียกว่าระยะก่อนมะเร็ง) – พบมะเร็งที่ผนังด้านนอกสุดของผนังลำไส้ใหญ่
Stage I – พบมะเร็งที่เยื่อบุชั้นที่ 2และ3 ของผนังลำไส้ใหญ่แต่ไม่พบที่ผนังด้านนอกลำไส้ใหญ่ ขั้นนี้เรียกว่า ดุ๊กเอ
Stage II – มะเร็งลามไปที่ผนังลำไส้ใหญ่แต่ไม่แพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง ขั้นนี้เรียกว่า ดุ๊กบี
Stage III – มะเร็งลุกลามไปผนังลำไส้ใหญ่และต่อมน้ำเหลือง แต่ยังไม่ลุกลามไปอวัยวะอื่น ขั้นนี้เรียกว่า ดุ๊กซี
Stage IV – มะเร็งลุกลามไปอวัยวะอื่น เช่น ตับและปอด ขั้นนี้เรียกว่า ดุ๊กดี
อาการของโรคมะเร็งลำไส้
ในระยะแรก อาจจะยังไม่แสดงอาการในขั้นแรก แต่อาจจะมีอาการหรืออุจจาระปนเลือด หรือถ่ายเป็นเลือดอุจจาระมีรูปร่างเปลี่ยนไป (เป็นเส้นเล็กลง) ปวดเกร็งในท้อง
มะเร็งลำไส้ตรงส่วนใหญ่มักแสดงอาการ ซึ่งต่างจากมะเร็งลำไส้ใหญ่ อาการดังกล่าวคือ: อุจจาระปนเลือดหรือเป็นเลือด, ท้องผูกสลับกับท้องเดินอย่างไม่มีสาเหตุ, ขนาดของเส้นอุจจาระเปลี่ยนไป และ ปวดเบ่ง คืออาการรู้สึกปวดถ่ายในขณะที่ไม่มีอุจจาระหรือไม่สามารถขับถ่ายออกได้ ถ้าก้อนมีขนาดใหญ่ขึ้นอาจไปเบียดอวัยวะข้างเคียงอาจก่อให้เกิด กลั้นปัสสาวะไม่อยู่หรือปวดเนื่องจากมีการกดทับที่ก้นหรือฝีเย็บ
การวินิจฉัย
ผู้ป่วยอาจจะถูกเข้ารับการตรวจเพื่อหาระยะและการกระจายของมะเร็งดังต่อไปนี้ การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนล่าง ในบางรายอาจได้รับการวินิจฉัยโรคจากการตรวจเอกซเรย์โดยการสวนแป้งแบเรี่ยม การตรวจเลือดเพื่อหาระดับของ carcinoembryonic antigen (CEA) (การตรวจเลือดเพื่อค้นหามะเร็งลำไส้ใหญ่) เอกซ์เรย์ทรวงอก และเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้องและเชิงกราน
นอกจากนี้ การตรวจเพื่อหาการลุกลามของมะเร็งอาจใช้ CT scans, MRI หรือการส่องกล้องคลื่นความถี่สูง (EUS)
การผ่าตัด
– การผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่จะทำตามตำแน่งที่เกิดในลำไส้ เช่น
* การผ่าตัดบริเวณครึ่งขวาของลำไส้ Rt. Extended Hemicolectomy
* การผ่าตัดบริเวณ Transverse colon Transverse colectomy
* การผ่าตัดบริเวณครึ่งซ้ายของลำไส้ Lt. Hemicolectomy
* การผ่าตัดบริเวณ sigmoid colon Sigmoidectomy
* Sigmoidectomy with Hartman’s pouch
ส่วนกรณีลำไส้ตรงซึ่งอยู่บริเวณเชิงกรานที่มีโครงกระดูกขนาดใหญ่ ทำให้ศัลยแพทย์ประสบความยากลำบากในการเลาะตัดชิ้นเนื้อบริเวณใกล้เคียงเพื่อตัดเอาก้อนมะเร็งออกมา ต้องใช้วิธีการ AP resection
ในผู้ป่วยที่ก้อนมีขนาดใหญ่มากจนไม่สามารถจะทำการผ่าตัดได้ การให้การฉายรังสีร่วมกับยาเคมีบำบัดก่อนการผ่าตัดเพื่อทำให้ก้อนเล็กลงจะช่วยให้ก้อนเล็กลงจนผู้ป่วยสามารถเข้ารับการผ่าตัดเอาก้อนออกได้ วิธีนี้เรียกว่า “downstaging”
- ผู้ป่วยขั้น 0 และ 1 ใช้การผ่าตัดเพียงอย่างเดียว
- ผู้ป่วยขั้น 2 และ 3 ที่เสี่ยงต่อการกลับเป็นซ้ำอีก ควรให้การฉายรังสีและยาเคมีบำบัดร่วมด้วย อาจใช้ก่อนหรือหลังผ่าตัด
แม้ว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่จะได้รับการผ่าตัดก้อนมะเร็งออกทั้งหมด แต่อุบัติการณ์การกลับเป็นซ้ำอีกสูงถึง 50-60%
การให้ยาเคมีบำบัดจึงเพื่อลดโอกาสการกลับเป็นซ้ำอีก
การศึกษาแสดงถึงการรักษาผู้ป่วยด้วยวิธีแตกต่างกัน โดยทั่วไป ผู้ป่วยมะเร็งขั้น 2 ที่มีปัญหาลำไส้ทะลุหรือลำไส้อุดตัน หรือที่เป็นมะเร็งชนิดเซลล์ผิดปกติมาก (จากการตรวจชื้นเนื้อด้วยกล้องจุลทรรศน์)นับว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงการกลับเป็นซ้ำอีกจะได้รับการรักษาโดย fluorouracil (5-FU) และ leucovorin (LV)ซึ่งทั้งสองตัวเป็นยาเคมีบำบัด เป็นเวลา 6 เดือน ขณะที่ผู้ป่วยมะเร็งขั้น 2 อื่นๆได้รับการติดตามอย่างใกล้ชิดแต่ไม่ต้องเข้ารับยาเคมีบำบัด ผู้ป่วยมะเร็งขั้น 3 ได้รับการรักษาด้วย fluorouracil และ leucovorin เป็นเวลา 6 เดือน ด้วยวิธีการรักษาแบบนี้ทำให้อัตราการรอดชีวิตเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับการผ่าตัดเพียงอย่างเดียว
ส่วนผู้ป่วยมะเร็งขั้น 4 ใช้การรักษาด้วยการตัดก้อนมะเร็งออก ร่วมกับการฉายรังสีรักษา โดยอาจใช้ยาเคมีบำบัดร่วมด้วยหรือไม่ร่วมด้วย
ผู้ป่วยบางท่านอาจต้องเข้ารับการจัดการการผ่าตัดตามการลุกลามของมะเร็งไปอวัยวะใกล้เคียง เช่น ตับ รังไข่เป็นต้น การรักษาผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม ใช้ fluorouracil, leucovorinและirinotecan (CPT-11 หรือ Camptosar) หรือ oxaliplatin (Eloxitin) สูตรการใช้ยาirinotecanหรือ oxaliplatinร่วมด้วย มีผลดีในการรักษาเพิ่มขึ้นมากกว่าที่ใช้เพียง fluorouracil และ leucovorin เท่านั้น
ข้อมูลอ้างอิงจาก http://www.prvariety.net/มะเร็งลำไส้ใหญ่/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น