วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2559

แน่นหน้าอก หายใจไม่อิ่ม ใช่อาการของโรคไหม?

อาการหอบ เป็นอาการที่เกือบจะทุกคนเคยเป็นมาก่อน เช่น หลังออกกำลังกาย มักจะมีอาการเหนื่อยหอบแต่ก็ถือว่าเป็นอาการที่เหนื่อยปกติ แต่บางคนก็อาจจะมีอาการที่เหนื่อยมาก เลยทำให้หายใจไม่อิ่ม หรือพยามหายใจมากเกินไปเลยก่อให้เกิดอาการแน่นหน้าอก ไปจนถึงเจ็บหน้าอก ในขณะที่บางคน อาจเหนื่อยน้อยกว่า เมื่อออกกำลังในขนาดเดียวกันก็ตาม
การตรวจหาสาเหตุของโรคที่ทำให้เกิดอาการเหนื่อย
ซักประวัติ ตรวจร่างกายที่ได้มาตราฐาน ตรวจเลือด ตรวจหน้าที่ตับ ไต ต่อมไทรอยด์ เอกซ์เรย์ทรวงอก คลื่นไฟฟ้าหัวใจ และตรวจสมรรถภาพปอด ถึงจะบอกถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเหนื่อยง่าย ได้เกือบหมด
สาเหตุของโรคที่สำคัญ คือ โรคปอดและโรคหัวใจ
โรคปอดเป็นโรคที่พบบ่อยที่สุด สถิติจากศูนย์ควบคุมโรค ในสหรัฐ ในปี 2543 ชาวอเมริกันประมาณ 30 ล้านคนหรือ 11.03% ของประชากร ป่วยเป็นโรคปอดเรื้อรัง ในขณะเดียวกัน มีชาวอเมริกัน 22 ล้านคน หรือ 8.09% ป่วยเป็นโรคหัวใจ สำหรับในประเทศไทย ในปี 2545 สถิติจากกระทรวงสาธารณสุข ปรากฎว่า ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ เข้ามารับการตรวจจากแพทย์ ปีละ 24.4 ล้านราย และระบบไหลเวียนของเลือด 7.2 ล้านราย อัตราตายของคนไทย จากโรคปอด ซึ่งรวมถึงปอดบวมและวัณโรค ด้วยอัตรา 31.9 ต่อประชากร 100,000 คน ซึ่งเป็นโรคหัวใจ จะมีอัตราตาย 27.7 จากประชากร 100,000 คน สำหรับโรคปอด ในผู้ป่วยที่อายุน้อย และหนุ่มสาว มักเป็นโรคหอบหืด ส่วนอายุมาก มักจะเป็นหลอดลมอักเสบเรื้อรัง และถุงลมปอดโป่งพอง การตรวจเอกซ์เรย์ปอด และตรวจสมรรถภาพปอดจะตรวจพบผู้ป่วยได้เกือบทั้งหมด แต่บางคราว แพทย์อาจต้องการการตรวจและวินิจฉัยเพิ่มเติมเพื่อให้ได้ผลที่แน่นอน และเพื่อการรักษาที่มีประสิทธิภาพ
สำหรับโรคหัวใจนั้น โรคที่พบบ่อยคือ โรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบ โดยโรคนี้ขึ้นอยู่กับอายุของผู้ป่วยด้วย ผู้ป่วยอายุต่ำกว่า 25 ปีมีโอกาสเป็นโรคเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจตีบ 0.2 รายต่อประชากร 100,000 ราย อายุ 35-44 ปีมีโอกาสเป็น 14.7 รายต่อประชากร 100,000 รายอายุ 75-84 ปีมีโอกาสเป็น  1252.2 รายต่อประชากร 100,000 ราย ดังนั้นจะเห็นได้ว่าถ้าผู้ป่วยมีอายุน้อยกว่า 44 ปี ไม่มีอาการเจ็บหน้าอก หรือไม่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันสูง โดยเฉพาะมีเอกซ์เรย์หัวใจและคลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG โดยปกติแล้วอาจจะพูดได้ว่าอาการที่เหนื่อยง่ายนั้นมีโอกาสจากโรคหัวใจนั้นน้อยมาก แต่ถ้าผู้ป่วยเป็นโรคหัวใจก็มีความจำเป็น ที่ต้องให้แพทย์ผู้ชำนาญทางโรคหัวใจตรวจหาสาเหตุที่แน่นอนและรักษาต่อ
การตรวจหาสาเหตุของอาการเหนื่อยที่ไม่ใช่จากโรค
ผู้ป่วยที่มีอาการเหนื่อยหรือหอบง่าย โดยเฉพาะผู้ป่วยอายุน้อย มักเกิดจากการที่ไม่ใคร่ได้ออกกำลัง พักผ่อนไม่พอหรือหลับไม่สนิท โดยเฉพาะมีเรื่องเครียด กังวล ไม่ว่าจะเป็นจากการงาน หรือเรื่องภายในครอบครัว อาจทำให้เกิดอาการเหนื่อยง่ายได้ ผู้ป่วย มักจะมีอาการหายใจไม่อิ่ม หรือหายใจไม่ทั่วท้องจนเกิดอาการแน่นหน้าอกหรือเจ็บหน้าอกมาก รู้สึกอากาศไม่เข้าไปในปอด หายใจลึกๆ 3-4 ครั้งแล้วจะสบาย หรือชอบถอนหายใจ บางคราว ผู้ป่วยมีปัญหา แต่ตนเองคิดว่าไม่ได้คิดอะไร เพราะแก้ไขได้ แต่จริงๆ แล้วจิตใต้สำนึก ยังคงเก็บปัญหาไว้อยู่ก็ได้ ผู้ป่วยพวกนี่ จะสบายขึ้น จากการได้รับยาคลายเครียดอ่อนๆ โดยเฉพาะเวลานอน แต่มีบางราย อาจต้องปรึกษาจิตแพทย์ บางคราวจะมีอาการอื่น เช่น ใจสั่น เจ็บหน้าอก กรดในท้องมาก ท้องเดินบ่อย มึนศีรษะ ปวดศรีษะ หรือตกใจง่ายร่วมด้วย สำหรับผู้ที่ไม่ค่อยได้ออกกำลัง ทางหน่วยกายภาพบำบัด จะบอกได้ถึงว่า ผู้ป่วยมีการขาดการออกกำลังหรือไม่ เป็นมากน้อยแค่ไหน เป็นที่ส่วนไหนของร่างกาย และมีการบริการ เพื่อให้มีสุขภาพสมบูรณ์ (Physical Fitness Exercise Program) โดยแนะนำนำวิธีบริหาร ที่เหมาะสมกับโรค อายุ และอาชีพของผู้ป่วย

ข้อมูลจาก: ศูนย์ปอดและระบบทางเดินหายใจของโรงพยาบาลกรุงเทพ 

มะเร็งลำไส้ใหญ่




กล่มเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
  • ผู้ที่มีอายุ 50 ปี ขึ้นไปทั้งในชายและหญิง เป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่มากที่สุด เพราะมะเร็งลำไส้ใหญ่จะเกิดติ่งเนื้องอกที่ผนังลำไส้ใหญ่ ซึ่งติ่งเนื้อที่เกิดขึ้นนี้ถือเป็นสัญญาณบอกเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ขั้นเริ่มต้น
  • ผู้ที่มีประวัติหรือประวัติครอบครัวมีมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยมะเร็งลำไส้ใหญ่บางชนิดสามารถถ่ายทอดได้จากทางพันธุกรรม รวมถึงผู้ป่วยโรคลำไส้ใหญ่อักเสบ หรือ โรคโครน ควรรีบตรวจคัดกรองมะเร็งเบื้องต้น
  • ผู้ที่บุคลที่มีประวัติครอบครัวใกล้ชิดเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ แต่ 80% ของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ใหม่ ไม่ใช่ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง
การสูบุหรี่และดื่มสุราจัด อาจมีผลต่อการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่
การกำหนดระยะของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
Stage 0 (ที่เรียกว่าระยะก่อนมะเร็ง) – พบมะเร็งที่ผนังด้านนอกสุดของผนังลำไส้ใหญ่
Stage I – พบมะเร็งที่เยื่อบุชั้นที่ 2และ3 ของผนังลำไส้ใหญ่แต่ไม่พบที่ผนังด้านนอกลำไส้ใหญ่ ขั้นนี้เรียกว่า ดุ๊กเอ
Stage II – มะเร็งลามไปที่ผนังลำไส้ใหญ่แต่ไม่แพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง  ขั้นนี้เรียกว่า ดุ๊กบี
Stage III – มะเร็งลุกลามไปผนังลำไส้ใหญ่และต่อมน้ำเหลือง แต่ยังไม่ลุกลามไปอวัยวะอื่น ขั้นนี้เรียกว่า ดุ๊กซี
Stage IV – มะเร็งลุกลามไปอวัยวะอื่น เช่น ตับและปอด ขั้นนี้เรียกว่า ดุ๊กดี
อาการของโรคมะเร็งลำไส้
ในระยะแรก อาจจะยังไม่แสดงอาการในขั้นแรก แต่อาจจะมีอาการหรืออุจจาระปนเลือด หรือถ่ายเป็นเลือดอุจจาระมีรูปร่างเปลี่ยนไป (เป็นเส้นเล็กลง) ปวดเกร็งในท้อง
มะเร็งลำไส้ตรงส่วนใหญ่มักแสดงอาการ ซึ่งต่างจากมะเร็งลำไส้ใหญ่ อาการดังกล่าวคือ: อุจจาระปนเลือดหรือเป็นเลือด, ท้องผูกสลับกับท้องเดินอย่างไม่มีสาเหตุ, ขนาดของเส้นอุจจาระเปลี่ยนไป และ ปวดเบ่ง คืออาการรู้สึกปวดถ่ายในขณะที่ไม่มีอุจจาระหรือไม่สามารถขับถ่ายออกได้ ถ้าก้อนมีขนาดใหญ่ขึ้นอาจไปเบียดอวัยวะข้างเคียงอาจก่อให้เกิด กลั้นปัสสาวะไม่อยู่หรือปวดเนื่องจากมีการกดทับที่ก้นหรือฝีเย็บ
การวินิจฉัย
ผู้ป่วยอาจจะถูกเข้ารับการตรวจเพื่อหาระยะและการกระจายของมะเร็งดังต่อไปนี้ การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนล่าง ในบางรายอาจได้รับการวินิจฉัยโรคจากการตรวจเอกซเรย์โดยการสวนแป้งแบเรี่ยม การตรวจเลือดเพื่อหาระดับของ carcinoembryonic antigen (CEA)  (การตรวจเลือดเพื่อค้นหามะเร็งลำไส้ใหญ่) เอกซ์เรย์ทรวงอก และเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้องและเชิงกราน
นอกจากนี้ การตรวจเพื่อหาการลุกลามของมะเร็งอาจใช้ CT scans, MRI หรือการส่องกล้องคลื่นความถี่สูง (EUS)
การผ่าตัด
– การผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่จะทำตามตำแน่งที่เกิดในลำไส้ เช่น
* การผ่าตัดบริเวณครึ่งขวาของลำไส้  Rt. Extended Hemicolectomy
* การผ่าตัดบริเวณ Transverse  colon Transverse colectomy
* การผ่าตัดบริเวณครึ่งซ้ายของลำไส้  Lt. Hemicolectomy
* การผ่าตัดบริเวณ sigmoid colon Sigmoidectomy
* Sigmoidectomy with Hartman’s pouch
ส่วนกรณีลำไส้ตรงซึ่งอยู่บริเวณเชิงกรานที่มีโครงกระดูกขนาดใหญ่ ทำให้ศัลยแพทย์ประสบความยากลำบากในการเลาะตัดชิ้นเนื้อบริเวณใกล้เคียงเพื่อตัดเอาก้อนมะเร็งออกมา ต้องใช้วิธีการ AP resection
ในผู้ป่วยที่ก้อนมีขนาดใหญ่มากจนไม่สามารถจะทำการผ่าตัดได้ การให้การฉายรังสีร่วมกับยาเคมีบำบัดก่อนการผ่าตัดเพื่อทำให้ก้อนเล็กลงจะช่วยให้ก้อนเล็กลงจนผู้ป่วยสามารถเข้ารับการผ่าตัดเอาก้อนออกได้ วิธีนี้เรียกว่า  “downstaging”
  • ผู้ป่วยขั้น 0 และ 1 ใช้การผ่าตัดเพียงอย่างเดียว
  • ผู้ป่วยขั้น 2 และ 3 ที่เสี่ยงต่อการกลับเป็นซ้ำอีก ควรให้การฉายรังสีและยาเคมีบำบัดร่วมด้วย อาจใช้ก่อนหรือหลังผ่าตัด
แม้ว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่จะได้รับการผ่าตัดก้อนมะเร็งออกทั้งหมด แต่อุบัติการณ์การกลับเป็นซ้ำอีกสูงถึง 50-60%
การให้ยาเคมีบำบัดจึงเพื่อลดโอกาสการกลับเป็นซ้ำอีก
การศึกษาแสดงถึงการรักษาผู้ป่วยด้วยวิธีแตกต่างกัน โดยทั่วไป ผู้ป่วยมะเร็งขั้น 2 ที่มีปัญหาลำไส้ทะลุหรือลำไส้อุดตัน หรือที่เป็นมะเร็งชนิดเซลล์ผิดปกติมาก (จากการตรวจชื้นเนื้อด้วยกล้องจุลทรรศน์)นับว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงการกลับเป็นซ้ำอีกจะได้รับการรักษาโดย fluorouracil (5-FU) และ leucovorin (LV)ซึ่งทั้งสองตัวเป็นยาเคมีบำบัด เป็นเวลา 6 เดือน  ขณะที่ผู้ป่วยมะเร็งขั้น 2 อื่นๆได้รับการติดตามอย่างใกล้ชิดแต่ไม่ต้องเข้ารับยาเคมีบำบัด ผู้ป่วยมะเร็งขั้น 3 ได้รับการรักษาด้วย fluorouracil และ leucovorin เป็นเวลา 6 เดือน ด้วยวิธีการรักษาแบบนี้ทำให้อัตราการรอดชีวิตเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับการผ่าตัดเพียงอย่างเดียว
ส่วนผู้ป่วยมะเร็งขั้น 4 ใช้การรักษาด้วยการตัดก้อนมะเร็งออก ร่วมกับการฉายรังสีรักษา โดยอาจใช้ยาเคมีบำบัดร่วมด้วยหรือไม่ร่วมด้วย
ผู้ป่วยบางท่านอาจต้องเข้ารับการจัดการการผ่าตัดตามการลุกลามของมะเร็งไปอวัยวะใกล้เคียง เช่น ตับ รังไข่เป็นต้น การรักษาผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม ใช้ fluorouracil, leucovorinและirinotecan (CPT-11 หรือ Camptosar) หรือ oxaliplatin (Eloxitin) สูตรการใช้ยาirinotecanหรือ oxaliplatinร่วมด้วย มีผลดีในการรักษาเพิ่มขึ้นมากกว่าที่ใช้เพียง fluorouracil และ leucovorin เท่านั้น
ข้อมูลอ้างอิงจาก http://www.prvariety.net/มะเร็งลำไส้ใหญ่/ 


โรคข้อเข่าเสื่อม


โรคข้อเข่าเสื่อม สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดแบบส่องกล่อง


วิธีรักษาโรคข้อเสื่อม
            ขณะนี้ยังไม่มีวิธีการรักษาโรคข้อเสื่อมที่มีประสิทธิภาพที่แน่นอน ไม่ว่าจะเป็นการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนก็ตาม จุดประสงค์ในการรักษา คือ ให้ความรู้แก่ผู้ป่วยว่าโรคข้อเสื่อมไม่ใช่โรคร้ายแรงหรือก่อให้เกิดทุพพลภาพมากมาย ผู้ป่วยสามารถหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ข้อเสื่อมลุกลามได้ เช่น ควบคุมน้ำหนัก ลดน้ำหนักรับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่โดยเฉพาะกลุ่มวิตามิน ออกกำลังกายเพื่อให้กล้ามเนื้อรอบๆ ข้อแข็งแรงและให้ข้อยืดหยุ่นได้ดี ทั้งนี้ ควรเป็นกีฬาที่ผ่อนคลายและไม่มีการปะทะรุนแรง เช่น ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน เป็นต้น การออกกำลังกายอย่างถูกต้องถูกวิธีและสม่ำเสมอจะช่วยชะลอการเสื่อมหรือลดอาการปวดได้อย่างมาก
          ยาและอาหารเสริมบางชนิดสามารถเปลี่ยนโครงสร้างกระดูกอ่อนข้อต่อได้ แต่ข้อเสียคือ ออกฤทธิ์ช้า มีราคาแพง และไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่มีข้อเสื่อมรุนแรง ส่วนการรักษาด้วยการผ่าตัดและการเปลี่ยนข้อเข่าเทียมจะสามารถระงับอาการปวดในผู้ป่วยที่รับประทานยาแก้ปวดลดอักเสบแล้วไม่ได้ผล ปัจจุบันความก้าวหน้าทางการแพทย์ทำให้ภาวะแทรกซ้อนและอัตราการตายจากการผ่าตัดมีน้อยมากเนื่องจากเป็นการผ่าตัดแผลเล็กและใช้คอมพิวเตอร์ช่วยนำทาง ทำให้มีความแม่นยำมาก มีการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อน้อย ผู้ป่วยจะฟื้นตัวจากการผ่าตัดได้เร็ว

ข้อเข่าเสื่อมพบในวัยใดบ้าง
          โรคข้อเสื่อมเป็นการเปลี่ยนแปลงในเซลล์และเนื้อกระดูกอ่อนข้อต่ออย่างเป็นขั้นเป็นตอน จนทำให้โครงสร้างและการทำงานของกระดูกอ่อนเสียไป ซึ่งติดตามด้วยกระบวนการซ่อมแซมกระดูกอ่อนและปรับแต่งกระดูก การลุกลามของอาการข้อเสื่อมจึงแตกต่างกันไป บางรายเกิดการลุกลามอย่างรวดเร็วที่ข้อหนึ่ง แต่ข้ออื่นๆ กลับเป็นไปอย่างช้าๆ บางครั้งก็อาจจะดีขึ้นเอง นั่นคือ มีการซ่อมแซมให้คืนสภาพเดิมทำให้อาการปวดลดลง
          มีการศึกษาที่น่าสนใจ คือ เมื่อติดตามผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเสื่อมเป็นเวลา 10 ปีขึ้นไป ด้วยภาพรังสีพบว่า ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วย โรคไม่ได้ลุกลามมากขึ้น ร้อยละ 10 มีภาพรังสีดีขึ้นกว่าเดิม อย่างไรก็ตามภาพรังสีที่พบไม่ได้สัมพันธ์กับอาการแสดงของผู้ป่วยโดยตรง ดังนั้น จึงเป็นเรื่องยากสำหรับแพทย์ที่จะพยากรณ์โรคหรืออธิบายการดำเนินโรค แต่ที่ทราบแน่ชัดคือปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ข้อเสื่อมลุกลามเร็ว ได้แก่ การบาดเจ็บบริเวณข้อ การบิดหมุนข้อหรือมีแรงกระทำซ้ำๆ ข้ออักเสบเกาต์ และความผิดปกติตามระบบประสาทกล้ามเนื้อ
          โรคข้อเสื่อมมีโอกาสรักษาให้หายขาดไหม
ว่าโรคข้อเสื่อมเกิดจากภาวะความผิดปกติที่ข้อต่อมากกว่าการสึกหรอตามวัย การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นบริเวณกระดูกอ่อนข้อต่อและกระดูกเกิดขึ้นอย่างเป็นขั้นตอน ถ้าหากสามารถพบความผิดปกติที่ขั้นตอนใดก็สามารถหาวิธีในการป้องกันหรือรักษาข้อเสื่อมได้ จึงมีความเป็นไปได้ที่จะรักษาหรือชะลอการลุกลามของโรคข้อเสื่อมได้
          ในปัจจุบันนักวิจัยได้ค้นพบว่าโรคข้อเสื่อมถูกกำหนดด้วยพันธุกรรมถึงร้อยละ 60 ในอนาคตแพทย์อาจจะสามารถคัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคข้อเสื่อมได้ โดยการเจาะเลือดตรวจหายีนส์ที่สัมพันธ์กับการเกิดโรค เพื่อให้ความรู้และแนะนำวิธีการป้องกันโรคแก่ผู้ป่วยแต่ละรายได้อย่างเหมาะสม
          อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
          ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีแคลอรีสูงซึ่งจะทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ในปริมาณที่เหมาะสม โดยเฉพาะอาหารในกลุ่มวิตามิน เช่น วิตามินอี วิตามินซี เบตาแคโรทีน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระและช่วยสร้างคอลลาเจน วิตามินเหล่านี้จะช่วยชะลอการลุกลามของข้อเสื่อมได้เล็กน้อย มีการศึกษาที่น่าสนใจในสหรัฐอเมริกาพบว่า ผู้ที่มีระดับวิตามินดีในเลือดต่ำจะมีความเสี่ยงต่อการลุกลามของข้อเสื่อมมากกว่าผู้ที่มีระดับวิตามินดีสูง ดังนั้น นอกจากจะต้องรับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่ในปริมาณที่เหมาะสมแล้ว ควรออกกำลังกายกลางแจ้งอย่างสม่ำเสมอด้วย


สามารถอ่านข้อมูลได้ที่http://www.cynhite.com/3916/